หน้าที่ของ จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานกฎหมายกรมสวัสดิการได้มีการออกบังคับให้ จป หัวหน้างาน ที่ผ่านการอบรม จป หัวหน้างาน และทำการขึ้นทะเบียนแล้วต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 9 ข้อเพื่อให้พนักงานในสังกัดเกิดความปลอดภัยทั้งพื้นที่ และ วิธีการทำงาน รวมไปถึงการปรับปรุงและเสนอแนะด้านต่างๆให้เกิดความปลอดภัย
หน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือ จป หัวหน้างาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
3) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
4) ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
5) กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
6) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
7) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
8) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
9) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
ข้อสำคัญในการเป็น จป หัวหน้างาน
จป หัวหน้างาน จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างอย่างเป็นทางการ
จป หัวหน้างาน จะต้องทำการขึ้นทะเบียนหลังอบรมเสร็จและได้รับวุฒิบัติ
จป หัวหน้างาน ไม่สามารถส่งตัวเองอบรมได้ จะต้องส่งอบรม จป หัวหน้างาน โดยสังกัดบริษัทเท่านั้น
จป หัวหน้างาน ไม่สามารถทำงานให้กับบริษัทอื่นนอกเหนือการขึ้นทะเบียนได้
กิจการที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี