Home » อันตรายจากการทำงานบริเวณที่มีฝุ่นมาก ป้องกันอย่างไรดี

อันตรายจากการทำงานบริเวณที่มีฝุ่นมาก ป้องกันอย่างไรดี

by Bonnie Parker
299 views
อันตรายจากการทำงานกับฝุ่น

จากสถานการณ์ปัจจุบันในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนเราต้องพบเจอฝุ่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ หรือฝุ่นขนาดเล็ก ย่อมส่งผลต่อผู้รับสัมผัส

ซึ่งระดับความรุนแรงของอันตรายจากฝุ่น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นชนิดของฝุ่น ขนาดของฝุ่น หรือปัจจัยส่วนบุคคลเอง  สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของ จป. หัวหน้างานที่จะต้องคอยดูแลสุขภาพของลูกน้องในองค์กรให้เกิดความปลอดภัย

ฝุ่นคืออะไร

1. ฝุ่น คืออะไร

ฝุ่น เป็นอนุภาคขนาดเล็กของของแข็งในอากาศที่มีหลายขนาดแตกต่างกัน มีทั้งฝุ่นขนาดใหญ่ และฝุ่นขนาด

เล็กที่สามารถสะสมในถุงลมปอดได้ ซึ่งฝุ่นมีแหล่งที่มาแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1.1. ฝุ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Particle) เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติทำให้เกิดฝุ่นเช่นดินทรายเขม่าควันเป็นต้น

1.2. ฝุ่นที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Man-made Particle) 

  • การคมนาคมขนส่ง เช่น การใช้รถใช้ถนน ฝุ่นจากท่อไอเสีย ฝุ่นจากผ้าเบรกรถ
  • การก่อสร้าง เช่น ฝุ่นจากการขุดเจาะ ฝุ่นปูนซีเมนต์
  • โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่ามีส่วนที่ทำให้เกิดฝุ่นจำนวนมาก 

2. อันตรายจากการทำงานบริเวณที่มีฝุ่นมาก

ฝุ่นในบรรยากาศโดยทั่วไป นอกจากจะทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นไม่ดีแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน

โดยทั่วไปด้วย แต่ในที่นี้ เราจะมาพูดถึงฝุ่นในบริเวณพื้นที่การทำงานว่ามีอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง

ฝุ่นในงานอุตสาหกรรมมีอันตรายแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของฝุ่นเช่นหากเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ฝุ่นที่พบเจอก็จะเป็นฝุ่นไม้ฝุ่นจากโรงงานทอผ้าก็จะเป็นฝุ่นผ้าฝุ่นจากโรงหลอมโลหะก็จะเป็นฝุ่นจากโลหะหรือฝุ่นจากเหมืองแร่ก็จะเป็นพวกใยหินเป็นต้นซึ่งระดับความรุนแรงของอันตรายจากฝุ่นก็จะแตกต่างกันออกไปนอกจากจะขึ้นอยู่กับประเภทของฝุ่นขนาดของฝุ่นยังขึ้นอยู่กับความไวในการรับสัมผัสของตัวผู้ปฏิบัติงานด้วย

โดยผลกระทบจากฝุ่นส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ส่งผลต่อหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมถึงหัวใจวาย
  • ส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจ และทำให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบได้ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้น

เรื้อรังและโรคมะเร็งปอด

  • ส่งผลต่อดวงตา เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา แสบตา ทำให้เกิดตาแดง ตาอักเสบได้
  • ส่งผลต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอักเสบ ระคายเคือง เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เช่น ปัญหาสิว ริ้วรอย 
  • ส่งผลต่อสมอง เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งงตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

อุปกรณ์ป้องกันฝุ่น

3. การป้องกันอันตรายจากฝุ่น

การป้องกันอันตรายจากฝุ่น โดยใช้หลักการป้องกันที่แหล่งกำเนิด (Source) ทางผ่าน (Path) และตัวผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) 

  • การป้องกันที่แหล่งกำเนิด (Source) คือ การใช้วิธีการทางด้านวิศวกรรม ออกแบบเครื่องจักร หรือกระบวนการทำงาน ที่ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น หรือเกิดน้อยที่สุด เพราะหากมีฝุ่นในพื้นที่การปฏิบัติงานจำนวนมาก จะทำให้ยากต่อการจัดการ หรืออาจออกแบบให้มีเครื่องดูดฝุ่นเฉพาะที่เพื่อลดปริมาณฝุ่นในพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การป้องกันที่ทางผ่าน (Path) คือ การใช้การควบคุมทางด้านบริหารจัดการ เช่น กำหนดให้มีการทำความสะอาดทุกๆ ชั่วโมง โดยใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือการป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น
  • การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) คือ การกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ โดยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของฝุ่นในพื้นที่การปฏิบัติงานด้วย

นอกจากการป้องการตามหลักที่กล่าวมา การตรวจวัดฝุ่นในพื้นที่การทำงาน ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน หากพื้นที่การปฏิบัติงานมีฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการผลิต ต้องทำการตรวจวัดฝุ่นในพื้นที่การทำงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่งในการตรวจฝุ่นดังกล่าว นิยมตรวจ 2 พารามิเตอร์ คือ 

  • ฝุ่นรวม (Total dust) หมายถึง อนุภาคแขวนลอยในอากาศที่อาจสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้
  • ฝุ่นที่มีขนาดเล็กที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) หมายถึง อนุภาคแขวนลอยใน

อากาศที่อาจสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและสามารถเข้าถึงและสะสมในบริเวณพื้นที่แลกเปลี่ยนอากาศของปอดและการตรวจวัดฝุ่นที่เกี่ยวข้องกับงานในสถานประกอบกิจการนั้นๆ เช่น ฝุ่นแคดเมี่ยมฝุ่นแร่ใยหิน เป็นต้น

ซึ่งหากค่าที่ตรวจวัดได้ เกินมาตรฐานที่กำหนด ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานหยุดการทำงานทันที เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ปฏิบัติงาน

งานที่มีฝุ่นมาก

4. การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในที่มีฝุ่น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ปฏิบัติงาน ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยจากฝุ่นในพื้นที่การปฏิบัติงาน เราจึงมี

ความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่มีฝุ่น ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยการตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด เพื่อทดสอบสมรรถภาพปอดว่ายังทำงานได้ปกติหรือไม่ และหากเรามีการตรวจสุขภาพและเก็บข้อมูลไว้ ก็จะทำให้เรารู้ได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป การทำงานของสมรรถภาพปอดมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเปลี่ยนงาน หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น และหาแนวทางในการรักษาและป้องกันต่อไป

สรุป

ฝุ่น เป็นอนุภาคของแข็งแขวนลอยในบรรยากาศ สามารถพบเจอได้ทั่วไป ซึ่งฝุ่นแต่ละชนิดก็จะมีอันตรายที่แตกต่างกัน แต่เราสามารถป้องกันอันตรายจากฝุ่นได้ โดยใช้หลักของ Source  Path  Receiver และเฝ้าระวังด้วยการตรวจวัดปริมาณฝุ่นในพื้นที่การปฏิบัติงาน รวมถึงการเฝ้าระวังด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีการตรวจสมรรถภาพปอด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์บทความ ที่เขียนขึ้นเพื่อเพิ่มความเข้าใจในความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยข้อมูลที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย คุณจะได้รับข้อมูลใหม่ทุกวันเพื่อความมั่นใจในการทำงานของคุณ

บทความแนะนำ

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by arpitaagarwal.net